มิเตอร์ไฟฟ้ากับ 8 เรื่องน่ารู้ แบบไหนเหมาะกับบ้านคุณ
มิเตอร์ไฟฟ้า ถือเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกบ้านต้องมี ลองมาดู 8 เรื่องน่ารู้ของมิเตอร์ไฟฟ้า อาทิ มิเตอร์ไฟฟ้ามีกี่ขนาด และวิธีการเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้ถูกต้องตามจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบ้านคุณ
โดยสามารถคำนวณเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองว่าบ้านของเราเหมาะกับขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเท่าไหร่ โดยนำกำลังไฟฟ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น (วัตต์) ซึ่งสามารถดูได้จากฉลากบนเครื่องใช้ไฟฟ้า หารด้วยความต่างศักย์ (โวลต์) และคูณด้วยจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น และนำกระไฟฟ้าทั้งหมดมาบวกรวมกัน และคูณด้วย 1.25 (ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคต) ยกตัวอย่างเช่น
ที่มา: https://www.baanamornchai.com/มิเตอร์ไฟฟ้ากับ-8-เรื่อง/
ประเภทของมิเตอร์ไฟฟ้า
มิเตอร์ไฟฟ้า มีหลายประเภทด้วยกันดังต่อไปนี้- มิเตอร์ไฟสำหรับบ้านอยู่อาศัย
- มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการขนาดเล็ก
- มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการขนาดกลาง
- มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการขนาดใหญ่
- มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการเฉพาะอย่าง
- มิเตอร์ไฟสำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
- มิเตอร์ไฟสำหรับกิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร
- มิเตอร์ไฟสำหรับผู้ใช้ไฟชั่วคราว
มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้านที่พักอาศัยมีขนาดไหนบ้าง
มิเตอร์ไฟฟ้ามีด้วยกันหลายขนาด โดยสามารถสังเกตได้จากตัวเลขในช่องบนมิเตอร์ เช่น 5(15) A หมายความว่า เป็นมิเตอร์ไฟขนาด 5 แอมป์ สามารถใช้ไฟได้มากถึง 15 แอมป์ ขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้า มีดังนี้ขนาดมิเตอร์ | ขนาดการใช้ไฟฟ้า |
มิเตอร์ 5(15) เฟส 1 | ไม่เกิน 10 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 15(45) เฟส 1 | 11-30 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 30(100) เฟส 1 | 31-75 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 50(150) เฟส 1 | 76-100 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 15(45) เฟส 3 | ไม่เกิน 30 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 30(100) เฟส 3 | 31-75 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 50(150) เฟส 3 | 76-100 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 200 เฟส 3 | 101-200 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 400 เฟส 3 | 201-400 แอมแปร์ |
เลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะกับบ้าน
ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสมในการใช้งานในบ้านเรือนทั่วไปนั้น จะต้องพิจารณาถึงจำนวนสมาชิกในบ้าน และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งปัจจุบัน และในอนาคตโดยสามารถคำนวณเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองว่าบ้านของเราเหมาะกับขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเท่าไหร่ โดยนำกำลังไฟฟ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น (วัตต์) ซึ่งสามารถดูได้จากฉลากบนเครื่องใช้ไฟฟ้า หารด้วยความต่างศักย์ (โวลต์) และคูณด้วยจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น และนำกระไฟฟ้าทั้งหมดมาบวกรวมกัน และคูณด้วย 1.25 (ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคต) ยกตัวอย่างเช่น
- พัดลมตั้งพื้น 75 วัตต์ จำนวน 2 ตัว คิดเป็นกระแสไฟฟ้า (75 ÷ 220) x 2 = 0.68 แอมแปร์
- หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ จำนวน 6 หลอด คิดเป็นกระแสไฟฟ้า (36 ÷ 220) x 6 = 0.98 แอมแปร์
- เครื่องปรับอากาศ 1,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 1,000 ÷ 220 = 4.54 แอมแปร์
- หม้อหุงข้าว 500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 500 ÷ 220 = 2.27 แอมแปร์
- เตารีด 430 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 430 ÷ 220 = 1.95 แอมแปร์
- โทรทัศน์ 43 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 43 ÷ 220 = 0.2 แอมแปร์
- ตู้เย็น 70 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 70 ÷ 220 = 0.32 แอมแปร์
ที่มา: https://www.baanamornchai.com/มิเตอร์ไฟฟ้ากับ-8-เรื่อง/